ในปัจจุบัน สายช่างและนักออกแบบคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักแนวคิด Universal Design ที่เป็นการออกแบบเพื่อทุกคน ทั้งเด็ก คนชรา และผู้ทุพพลภาพต่าง ๆ ก็สามารถใช้งานฟังก์ชั่นในอาคารได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ลำบาก แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าที่มาที่ไปแนวคิดนี้มาจากที่ไหน วันนี้ทางเพจเราจะมาแนะนำกันครับ
———————————————
- Universal Design กับเรื่องสิทธิ เสรีภาพ
ตั้งแต่อดีตที่มนุษย์สร้างอาคาร และสถาปัตยกรรม เราจะพบว่าส่วนมากจะออกแบบรองรับคนใช้งานที่เป็นวัยทำงาน มีร่างกายแข็งแรงเป็นหลัก ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุหรือรองรับคนพิการ จนกระทั่งเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 20 ที่โลกของเรามีการคิดถึงเรื่องสิทธิและเสรีภาพของคนทุกกลุ่ม รวมถึงสิทธิที่คนทุกกลุ่มควรจะได้ใช้งานอาคารสาธารณะต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม
.
ประกอบกับช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มา ที่เป็นสงครามอันโหดร้าย มีผู้ทุพพลภาพเคราะห์ร้ายจากสงคราม และทหารผ่านศึกมากมาย ทำให้รัฐบาลต่าง ๆ โดยเฉพาะในอเมริกาและยุโรป เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่อง Universal Design โดยเริ่มต้นจากฝั่งของสหรัฐที่มีการผลักดันกฎเกณฑ์ the American National Standard ในปี 1960 ให้อาคารต่าง ๆ หันมาใช้เกณฑ์นี้ในการออกแบบ เพื่อรองรับการเคลื่อนไหว และการใช้งาน ซึ่งตอนนั้นจะเน้นกลุ่มผู้พิการ และผู้ทุพพลภาพ เป็นหลัก ต่อมาอีก 2 -3 ปี ก็เริ่มมีอีกหลายประเทศผลักดันเรื่องนี้กัน อาทิ กฎเกณฑ์เรื่องการออกแบบอาคารรองรับผู้พิการในอังกฤษที่ออกมาในปี 1963
.
อีกกลุ่มแนวคิดหนึ่งก็คือ คำว่า Barrier-free (バリアフリー, bariafurii) ซึ่งมาจากแนวคิดของญี่ปุ่น เริ่มช่วง 1990 และเป็นคำที่พบในเยอรมัน ที่เรียกว่า Barrierefreiheit ซึ่งแนวคิดของฝั่งอเมริกาและอังกฤษจะเน้นเรื่องสิทธิ accessibility การเข้าถึงอาคารของผู้ทุพพลภาพ และที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน แต่ฝั่งของญี่ปุ่นและเยอรมันดูจะเน้นเชิงกายภาพมากกว่า เน้นเรื่องการออกแบบปรับปรุงอาคาร กฎหมายอาคารโดยตรง ไม่ให้มีอะไรเป็นตัวกีดขวางการใช้งานของผู้ทุพพลภาพ เช่น สร้างทางลาดคนพิการ ระยะที่รถเข็นผ่านสะดวก สร้างไฟส่องสว่างที่เหมาะสม เป็นต้น
.
ปัจจุบันเราจะพบว่าทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น หรือ ไทย ต่างก็มีกฎเกณฑ์เรื่อง Universal Design ที่เน้นย้ำให้อาคารต่าง ๆ ออกแบบเพื่อรองรับ ตอบโจทย์แก่คนทุกกลุ่ม ให้สามารถใช้งานได้โดยสะดวก ปลอดภัย
———————————————
- แนวคิด 7 ข้อ ของ Universal Design
ในแนวคิดด้าน Universal Design มีแนวคิดสำคัญอยู่ 7 ข้อด้วยกัน อันได้แก่
1. Equitable Use หรือก็คือการออกแบบให้ทุกคนสามารถใช้งานได้อย่างเท่าเทียม ไม่ว่าเด็กหรือคนแก่ก็ใช้งานได้
2. Flexibility in Use การใช้งานต้องมีความหยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
3. Simple and Intuitive Use ใช้งานง่าย เรานึกถึงเวลาไปอาคารไหนแล้ว เจอทางเดินหรือบันไดที่เดินลำบาก ไม่ต้องนึกว่าหากผู้ทุพพลภาพมาใช้งาน เขาเหล่านั้นคงลำบากกว่าเราแน่นอน
4. Perceptible Information ต้องเข้าใจง่าย ซึ่งในที่นี้หมายถึงป้าย สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในอาคารเราต้องเป็นสากล คนทุกกลุ่มเห็นแล้วเข้าใจ
5. Tolerance for Error ออกแบบให้ลดความผิดพลาด หรือลดความรุนแรงหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นให้ได้มากที่สุด
6. Low Physical Effort ออกแบบให้ระบบและการใช้งานต่าง ๆ ในอาคาร ให้คนที่ใช้แรงได้น้อยก็ยังใช้งานได้
7. Size and Space for Approach and Use ความเหมาะสมของขนาดพื้นที่ ถ้ายกตัวอย่างให้ทุกท่านเห็นภาพ ก็อย่างเช่น ทางเดินในอาคารควรกว้างพอที่จะให้รถเข็นผู้พิการผ่านได้ เป็นต้นครับ
———————————————
• ตัวอย่างสถาปัตยกรรม Universal Design
วันนี้เราจะมาแนะนำอาคารที่น่าสนใจที่ออกแบบเน้นคอนเซปเรื่อง Universal Design เป็นจุดเด่นกันครับ นั่นก็คืออาคารสุดเท่อย่าง Ed Roberts Campus จากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ออกแบบโดยบริษัท LMS Architects เป็นอาคารของ Center for Independent Living (CIL) เพื่อช่วยเหลือผู้ทุพพลภาพ ดังนั้นอาคารจึงต้องออกแบบอย่างดีเพื่อรองรับรถเข็น และผู้ทุพพลภาพต่าง ๆ
จุดเด่นกลางอาคารก็คือทางลาดคนพิการขนาดใหญ่ ออกแบบเป็นทางโค้งสีแดงสะดุดตา เพื่อให้คนและวีลแชร์สามารถขึ้นไปชั้นบนได้นอกเหนือจากลิฟท์ ซึ่งลิฟท์ของที่นี่ก็เลือกขนาดใหญ่พิเศษ ให้รถวีลแชร์ที่มีระบบพิเศษใช้งานได้ รวมถึงระบบควบคุมภายในอาคารจะเป็นแบบ hands-free และเน้นระบบอัตโนมัติ ป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และอีกสิ่งที่แตกต่างที่นักออกแบบหลายคนอาจไม่ทราบ ก็คืออาคารแห่งนี้มีการใช้วัสดุตกแต่งภายในที่แตกต่าง Contrast กันชัดเจน อย่างเช่น ผนัง เครื่องเรือนและพื้นจะเป็นคนละสีกันชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่อาจมีสายตาไม่ดีสามารถแยกได้ง่าย ลดการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด
.
บ้าน Lotus House ที่ประเทศเวียดนามเป็นตัวอย่างที่นำองค์ประกอบ Universal Design กลมกลืนไม่ขัดตา ออกแบบโดย MW archstudio ก็เป็นตัวอย่างบ้านพักอาศัยที่น่าสนใจ การออกแบบพื้นที่ภายในบ้านให้พื้นชั้นเดียวกันระนาบเดียวกัน มีที่ว่างทางสัญจรที่กว้างขว้าง ใช้งานในบ้านที่นั่งวีลแชร์สามารถผ่านได้สะดวก และการสร้างแลมป์ทางลาดขนาดใหญ่ ให้ใช้งานได้ ขณะเดียวกันก็ยังคงบรรยากาศสวยงามและดูเป็นบ้านชัดเจน
———————————————
- Universal Design กับการเลือกใช้วัสดุ อย่างเช่น กระเบื้อง
หนึ่งในสิ่งที่ต้องคำนึงควบคู่กับ Universal Design ก็คือเรื่องวัสดุที่ใช้ในอาคาร ซึ่งในที่นี้เราจะยกตัวอย่าง วัสดุปูพื้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องคำนึงอย่างมาก ๆ ครับ ผู้ใช้งานอาคารหรือเจ้าของบ้านอาจจะเน้นเลือกวัสดุที่ดูสวยงามเป็นหลัก แต่เรื่องการป้องกันการลื่นล้มเป็นเรื่องสำคัญมากครับ
.
นอกจากพื้นที่ในห้องน้ำและห้องครัวแล้ว พื้นที่รอบบ้านก็เป็นเรื่องที่ต้องระวัง ไม่ว่าจะเป็นลานจอดรถ ทางเดินรอบอาคาร เพราะพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ภายนอก มีโอกาสเจอฝุ่นและน้ำฝน ก็เกิดโอกาสการลื่นล้มของผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพได้ครับ เราควรให้อาคารสามารถให้คนทุกกลุ่มมาใช้งานได้อย่างปลอดภัย
.
สำหรับสถาปนิกและช่างแล้ว เราสามารถแนะนำเรื่องวัสดุที่มีค่ากันลื่นสูง มาพร้อมความสวยงามด้วยกระเบื้องปูพื้นอย่างกระเบื้องเคนไซรุ่น Granito Tile ไม่ว่าจะเป็นอาคารสาธารณะหรืออาคารบ้านพักอาศัยก็สามารถใช้งานได้
.
ด้วยความแข็งแรงทนทานและมีค่ากันลื่นที่สูง ปลอดภัย ช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการลื่นล้ม ทำให้กระเบื้องรุ่นนี้ของเราได้รับการไว้วางใจนำไปใช้ ทั้งพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า หรือลานสาธารณะต่างๆ และยังได้รับความนิยมนำไปใช้ในการปูโครงการพักอาศัยมากมาย
.
กระเบื้องรุ่น Granito Tile ของเรา ผลิตด้วยมาตราฐานระดับสากล รับน้ำหนักได้มาก มีผิวหน้าแข็งแกร่งทนรอยขีดข่วนได้ดี จึงสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย ปรับเปลี่ยนการใช้สอยได้ตามชอบ ติดตั้งได้ด้วยช่างกระเบื้องทั่วไป
.
นอกจากเรื่องที่จะทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัย ใช้งานสะดวก กระเบื้องเคนไซรุ่น Granito Tile ยังมีความสวยงามและไม่เป็นคราบเชื้อรา สามารถทำความสะอาดได้ง่าย หากท่านใดสนใจ สามารถติดต่อสอบถามทางเพจของเราได้เลยครับ
.
อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/Universal_design
https://readthecloud.co/universal-design/
https://universaldesign.ie/what-is-universal-design/
https://www.washington.edu/doit/what-universal-design-0
.
ขอขอบคุณภาพประกอบบทความจาก
https://www.archdaily.com/923212/basic-and-necessary-recommendations-for-designing-accessible-homes
https://www.archdaily.com/122507/ed-roberts-campus-leddy-maytum-stacy-architects
https://www.archdaily.com/941491/lotus-house-mw-archstudio?ad_source=search&ad_medium=projects_tab
.
หากท่านใดสนใจผลิตภัณฑ์ของทางเรา สามารถติดต่อสอบถามได้ทางเพจเราได้เลยครับ
สามารถติดต่อ-สอบถามได้ที่
Inbox : http://m.me/kenzaiceramics
Line : https://lin.ee/8OWMij2
Tel : 02 692 5080-90
#เคนไซตัวจริงเรื่องกระเบื้องภายนอก
#เคนไซผู้ผลิตกระเบื้องภายนอกรายแรกในไทย