ปัจจุบันเวลาเราเดินตามท้องถนน หรือตามสถานีรถไฟฟ้า จะมีกระเบื้องสีเหลืองที่มีผิวสัมผัส และรูปแบบต่าง ๆ ที่แปลกกว่ากระเบื้องแบบอื่นๆ มีไว้สำหรับผู้พิการทางสายตา เพื่อไว้บอกระยะทาง ทิศทางเดิน จุดเปลี่ยนและจุดหยุด สามารถรู้สึกได้ผ่านทางไม้เท้าและทางเท้าแม้จะสวมใส่รองเท้าอยู่ เราเรียกกระเบื้องแบบนี้ว่า Tenji Blocks หรือ Braille Blocks แต่คำศัพท์ที่พบทั่วไปอาจใช้คำว่า Tactile paving หรือกระเบื้องพื้นผิวต่างสัมผัส
ทั้งหมดทั้งมวลต้องยกความดีให้แก่ คุณ เซอิจิ มิยาเคะ (SEIICHI MIYAKE ; 三宅 精一) ด้วยสิ่งประดิษฐ์ของเขาได้ช่วยเหลือคนพิการหลายล้านคนทั่วโลกตลอด 50 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเดินทางในที่สาธารณะได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น
คุณเซอิจิ มิยาเคะ เป็นวิศวกรชาวญี่ปุ่นเกิดเมื่อปี 1926 ที่เมืองคุราชิกิ จังหวัดโอกายามะ ประเทศญี่ปุ่น โดยเขาได้คิดค้นและสร้าง Tenji Blocks ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกเมื่อปี 1965 ด้วยทุนทรัพย์ของตนเอง เพื่อไว้ช่วยเพื่อนของเขาที่สายตาเริ่มทุพพลภาพลง
ด้วยปรารถนาดีที่มีต่อเพื่อน คุณเซอิจิจึงออกแบบกระเบื้องนี้ให้เข้าใจง่ายและใช้งานสะดวก ด้วยแผ่นกระเบื้องที่ประกอบด้วย “แบบปุ่มนูน” ที่สื่อถึงให้ระวัง ซึ่งนำไปใช้กับขอบถนน ขอบสิ้นสุดทางเดิน หรือจุดเปลี่ยนให้ระวัง และ “แบบเส้นนูน” สำหรับบ่งบอกพื้นที่ว่าสามารถไปต่อได้ และความแตกต่างของผิววัสดุที่ออกแบบให้รับรู้ได้แม้จะใช้ไม้เท้าคนตาบอด
ด้วยกระเบื้อง Tenji Blocks นี้ช่วยสร้างความปลอดภัยแก่ผู้พิการทางสายตาอย่างมาก และถูกนำไปใช้ที่แรกที่โรงเรียนผู้พิการทางสายตาแห่งเมืองโอกายามะ ในปี 1967 และเลือกใช้สีเหลืองสว่างเป็นหลัก เผื่อให้แตกต่างจากกระเบื้องปูพื้นโดยปกติทั่วไป ช่วยให้โดดเด่นและมองเห็นง่ายต่อผู้มีสายตาเลือนลาง และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้บกพร่องทางสติปัญญาให้เข้าใจเส้นทางได้ง่ายขึ้น
ต่อมาด้วยคุณสมบัติที่เป็นเลิศจึงถูกนำไปใช้ในสถานีรถไฟทั่วประเทศญี่ปุ่นในปี 1985 และเผยแพร่ไปทั่วโลก ช่วยให้ผู้พิการทางสายตาทั่วโลกมีความสะดวกสบายมากขึ้น อาทิ ในสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายบังคับใช้กระเบื้องผิวต่างสัมผัสในที่สาธารณะทั่วประเทศในปี 1990 รวมถึงประเทศอื่น ๆ อาทิ อังกฤษ , ฝรั่งเศส และจีน โดยอาจมีการใช้เป็นสีที่แตกต่างออกไปตามแต่บริบทของประเทศนั้น ๆ เช่น สีขาวและสีน้ำตาลในอเมริกา ส่วนสีเขียวและสีเทานิยมใช้ในฮ่องกง เป็นต้น
และด้วยคุณงามความดีของคุณ เซอิจิ มิยาเคะ จึงทำให้ในปี 2010 ทางญี่ปุ่นประกาศว่าวันที่ 18 มีนาคม ของทุกปีเป็นวัน the Day of the Tenji Block ซึ่งที่เป็นวันที่กระเบื้อง Tenji Blocks ถูกใช้งานอย่างเป็นทางการที่โรงเรียนผู้พิการทางสายตาแห่งเมืองโอกายามะในปี 1967 และมีการสร้างอนุสรณ์เชิดชู พร้อมแต่งเพลง “Shiawase no kiiroi michi” (Yellow road of happiness) มอบให้
ส่วนในประเทศไทย มีการใช้งานกระเบื้องผิวต่างสัมผัสเช่นกัน โดยมีข้อบังคับการใช้พื้นผิวต่างสัมผัสในพื้นที่สาธารณะ สถานีขนส่งมวลชน และ อาคารสำนักงานที่ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป และทางกระเบื้อง KENZAI ก็มีผลิตภัณฑ์กระเบื้องผิวต่างสัมผัสที่เหมาะสมกับประเทศไทย อันได้แก่ กระเบื้อง KENZAI PLUS ที่ออกแบบมาไม่เพียงแต่เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาได้ใช้งาน สำหรับคนทั่วไปกระเบื้องพื้นผิวต่างสัมผัสยังมีประโยชน์อีกด้วยซึ่งเป็นจุดเกตุ จุดเตือน ให้ระวังพื้นที่ที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้
กระเบื้อง Kenzai Plus มีความทนทาน สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร เข้ากับแดดและฝนอันหนักหน่วงของประเทศเรา กระเบื้อง KENZAI PLUS มีครบทั้งชนิดปุ่มนูน (Warning tile) สำหรับเตือนหรือระวัง ใช้สำหรับขอบทาง จุดสิ้นสุดเส้นทาง หรือส่วนทางระดับ และชนิดเส้นนูน (Directional tile) สำหรับบอกเส้นทางสัญจร และยังมีขนาดสองขนาด อันได้แก่ 150 x 150 มม. และ 300 x 300 มม. โดยสีของกระเบื้อง Kenzai Plus ที่มีสีเหลืองตามแบบฉบับของญี่ปุ่น ยังมีสีให้เลือกมากถึง 16 สี สามารถนำไปปรับใช้ให้แตกต่างกับสีกระเบื้องของท่านได้
ลูกค้าสามารถดูรายละเอียดกระเบื้องรุ่น Kenzai Plus ได้ที่