ในช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา ผมว่าเราชาวไทยและอย่างยิ่งในกรุงเทพ คงพบกับปัญหาฝนตกขนาดใหญ่มหาศาลอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และปัญหาน้ำท่วมขังในถนน ที่ไม่ว่าจะยังไงก็แก้ไขได้ไม่เคยทันใจ
.
ปัจจัยหลักเราก็ต้องยอมรับกันครับว่าสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศของโลกเปลี่ยนไปเรียบร้อยแล้ว จากปัจจัยโลกร้อน ที่มีการรณรงค์และพูดถึงมาหลายสิบปี ตอนนี้เรื่องนี้มันเกิดขึ้นให้เราเห็นเรียบร้อย สิ่งที่เรียกว่า Extreme weather เป็นสภาพอากาศที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น
———————————————
- Global Climate change เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงทั่วโลก
การประชุมระดับโลกมากมายครับ พยายามจะให้เราแก้ไขใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความร้อนของโลกที่มากขึ้นส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ไอน้ำระเหยมากขึ้น และหลายประเทศเกิดความแล้งและคลื่นความร้อนอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน อย่างอังกฤษ จีน ก็เจอสภาวะแห้งแล้ง
.
แต่สำหรับอีกประเทศมากมายจะเจอผลตรงกันข้ามก็คือ ฝนตกมากขึ้น อย่างสมัยก่อนประเทศไทยก็อาจมีวันฝนตกหนักแบบนี้บ้างแต่ไม่บ่อย อย่างข้อมูลของผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ปีที่แล้วกรุงเทพมีวันฝนตกเกิน 100 มม. หรือก็คือวันเดียวฝนตกจนมีน้ำสูง 10 เซนติเมตรได้ อยู่ราว 4 วัน แต่ปีนี้มีทะลุ 10 วันไปแล้ว เราจะเห็นว่าเราชาวกรุงเทพจะต้องเจอฝนและน้ำท่วมรอการระบายมากกว่าเดิม บ่อยกว่าเดิม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
———————————————
- ตัวอย่างการปรับตัวของหลากหลายสถาปัตยกรรมทั่วโลก
แต่ละประเทศก็จะเจอภัยธรรมชาติและ Extreme weather ที่แตกต่างกันไป อย่างประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่เป็นประเทศที่มีการจัดการน้ำได้ดี ตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่ปกติเราจะคิดว่าต้องยึดติดกับพื้นที่ ถูกนำมาคิดใหม่ เพื่อรองรับสภาพน้ำท่วมหรือภัยพิบัติจากพายุได้ดี โดย Waterstudio ซึ่งเป็นบริษัทนักออกแบบของที่นี่ที่ได้ทำอาคารเป็นบ้านที่สามารถลอยน้ำได้ หรือ floating architecture ที่คงรูปหน้าตาเป็นอาคารสถาปัตยกรรม ไม่ได้ปรับจนเป็นเรือหรือยานพาหนะอย่างใดที่คนอาจรู้สึกไม่โอเค
.
การให้ความรู้สึกยังเป็นอาคารโมเดิร์นสวยงาม แต่ก็พร้อมลอยตัวตามระดับน้ำที่สูงขึ้นได้ ก็เป็นการออกแบบที่ปรับโฉมเปลี่ยนตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดีโครงการหนึ่ง
.
ออสเตรเลีย เป็นหนึ่งในประเทศที่เจอปัญหาความแห้งแล้งอันก่อเกิดไฟป่าบ่อยขึ้น สถาปัตยกรรมสร้างใหม่ของชาวออสเตรเลียที่ก่อสร้างใกล้แนวชายป่า หรืออยู่ที่พื้นที่อาจเกิดไฟป่า จะต้องปฎิบัติตามข้อบังคับใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเว้นระยะระหว่างอาคารที่มากขึ้น แผ่นสังกะสีหรือไม้ที่ชาวออสเตรเลียมักนิยมเป็นวัสดุปิดผิวอาคารแต่ไม่ทนไฟเท่าไร ต้องถูกทดแทนเปลี่ยนเป็นใช้วัสดุภายนอกอาคารที่เป็นวัสดุไม่ติดไฟ อย่างเช่น อิฐ คอนกรีต และแผ่นหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นต้น จากบ้านไม้แบบฟาร์มเฮาส์อย่างตะวันตก ก็อาจต้องกลายเป็นบ้านคอนกรีตหรือวัสดุคงทนพร้อมรับสภาพไฟป่ามากขึ้น ภาพลักษณ์บ้านเรือนในท้องทุ่งหรืออาคารริมป่าคงเปลี่ยนไปเยอะในอนาคต
ตัวอย่างบ้านในออสเตรเลีย
Photo Credit: nigel bell
.
หรือตัวอย่างประเทศชิลี กับอาคาร AKA Patagonia Hotel ที่เป็นอาคารทำจากไม้มาใช้ออกแบบโรงแรม เราอาจจะสงสัยว่าการใช้ไม้แบบนี้จะรับสภาพอากาศรุนแรงได้อย่างไร ก็ต้องบอกว่าเป็นการออกแบบที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่นั้น โดยเลือกใช้ไม้ของท้องถิ่นที่ชื่อ Lenga ซึ่งมีความทนต่อสภาพลมแรงและอากาศอันหนาวอันรุนแรงของพื้นที่ได้อย่างดี อาคารยกพื้นสูงเพื่อลด footprint และยังเป็นวัสดุที่ดีตอบโจทย์ต่อสิ่งแวดล้อมด้วย การย้อนกลับไปหาวัสดุท้องถิ่นที่ตอบโจทย์กับสภาพบริบทของดินแดนบริเวณนั้น อาจเป็นอีกหนทางที่สถาปัตยกรรมยุคปัจจุบันควรคำนึง แทนที่การนำเข้าวัสดุจากต่างประเทศที่อาจจะไม่สอดคล้องหรือทนต่อสภาพอากาศได้
ตัวอย่างประเทศชิลีกับอาคาร AKA Patagonia Hotel
Credit: Photo by Fernanda Del Villar
.
ประเทศญี่ปุ่นเองก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่เจอน้ำท่วมได้บ่อยขึ้น จากฝนที่ตกหนักขึ้น โดยสถิติในรอบสิบปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นเองก็มีปริมาณน้ำฝนมากกว่าเดิมจากอดีต ถึง 1.5 เท่า ทำให้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมในญี่ปุ่นก็จะพบได้บ่อยขึ้น ใครอาจจะพอจำกันได้ ที่เป็นภาพในอินเตอร์เน็ตที่สถานีรถไฟใต้ดินของญี่ปุ่นน้ำท่วม แต่น้ำท่วมบ้านเขาคือน้ำใสแจ๋ว
ตัวอย่างบ้านในประเทศญี่ปุ่น
Credit: Photo by kai nakamura
.
อย่างไรก็ดีต่อให้เป็นน้ำท่วมใสแจ๋ว ก็สร้างปัญหามากมายทั้งความเป็นอยู่และเศรษฐกิจ บรรดาบ้านเรือนที่สร้างใหม่ของญี่ปุ่นก็มีการออกแบบให้รองรับน้ำท่วมมากขึ้น อย่างบ้านเรือนที่อยู่ใกล้แม่น้ำ ก็จะมีการทำชั้นล่างเป็นวัสดุทนน้ำมากขึ้น หากเกิดน้ำท่วมให้สามารถแก้ไขซ่อมแซม ทำความสะอาดได้ง่าย
.
UNEMORI ซึ่งเป็นทีมสถาปนิกญี่ปุ่นได้ออกแบบบ้านยกพื้น ใช้วัสดุทนน้ำอย่างเสาคอนกรีตที่ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมได้ดี ซึ่งบ้านญี่ปุ่นสมัยใหม่มักจะทำบ้านติดพื้นดิน แต่บ้านที่ Takaoka หลังนี้ยกอาคารบ้านให้สูงเกือบ 70 ซม. ป้องกันน้ำหลากน้ำท่วมในอนาคต
———————————————
- ประเทศไทยของเราและปัญหาน้ำท่วม น้ำขัง
ปัญหาเรื่องน้ำท่วมน้ำขัง อาจกลายเป็นสิ่งที่เราต้องทำและเตรียมตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รับกับสถานการณ์ปัจจุบัน อันที่จริงประเทศของเราเจอปัญหาเรื่องน้ำท่วมกันบ่อยมาก และเจอกันมาตั้งแต่ในอดีต ใครที่พอมีอายุหน่อยก็น่าจะจดจำน้ำท่วมใหญ่มาหลายครั้ง
.
เราอาจจะต้องหันไปมองอาคารของไทยในอดีตที่ออกแบบรองรับน้ำท่วมน้ำหลากได้ดี จากการสร้างอาคารให้ยกพื้นสูงเพื่อหนีน้ำ และเราอาจจะใช้วิธีเดียวกับญี่ปุ่น คือเลือกวัสดุที่มีความทนทานต่อน้ำได้มากขึ้น
.
ใครที่นิยมปูพื้นไม้ติดพื้นดิน หรือกระเบื้องยาง แผ่นลามิเนต ในชั้นล่าง อาจต้องคิดกันใหม่ วัสดุเหล่านี้ไม่ทนต่อการแช่ในน้ำนาน ๆ เท่าไร ควรมองหาวัสดุทนต่อสภาพอากาศที่รุนแรง สามารถทำความสะอาดหรือจัดการได้ง่ายหลังน้ำลด ขณะเดียวกันก็พร้อมทำให้อาคารมีความสวยงามไปพร้อมกันได้ด้วย
———————————————
- กระเบื้องเคนไซกับอาคารของท่าน
เราสามารถเลือกใช้กระเบื้องเคนไซในการปูพื้นและผนังในชั้นล่างของอาคาร เพื่อการป้องกันภายหลังจากน้ำท่วมน้ำหลากได้ เพราะต่อไปในอนาคต ฝนก็อาจจะตกมากขึ้นและระบายน้ำของเองทำได้ไม่ทัน น้ำอาจล้ำเข้ามาในพื้นชั้นล่าง ใครที่ปูพื้นด้วยวัสดุไม่ทนทาน เวลาเจอน้ำก็อาจจะเสื่อมสภาพได้ไว อาจหันมาลองเปลี่ยนเป็นกระเบื้องปูพื้นของเคนไซเตรียมเผื่อไว้กันครับ เพราะกระเบื้องนั้นมีความแข็งแรงทนทาน สามารถทนต่อการเปียกน้ำ และทำความสะอาดได้ง่ายหลังจากน้ำลด
.
รวมถึงผนังอาคารที่ทาสีปกติ ก็มักเป็นคราบน้ำได้ เราอาจลองหันมาเลือกใช้ปูกระเบื้องที่ผนังอาคารทั้งภายในภายนอกกันครับ กระเบื้องของเราผลิตมาอย่างดี ทนต่อทั้งแดดและฝน รวมถึงคราบเกลือได้ นอกจากเรื่องการทำความสะอาดง่าย แข็งแรงทนทาน ยังมีความสวยงามและมีมีหลากหลายรุ่นให้ท่านได้เลือกใช้งาน ให้ตรงตามสไตล์ที่ต้องการ
.
ที่สำคัญกระเบื้องของทางเคนไซ ยังมีคุณสมบัติค่ากันลื่นที่สูง ทำให้สามารถใช้ปูพื้นภายนอกอาคารได้อย่างสบาย พร้อมรับสภาพอากาศที่รุนแรงได้ดี เพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน
.
นอกจากนี้ผิวหน้ากระเบื้องเคนไซมีความแกร่ง ทนต่อรอยขีดข่วน และทนกรดทนด่างทั่วไปได้ และยังไม่เป็นคราบเชื้อราหรือคราบดำอย่างบรรดาหินธรรมชาติเวลาเจอน้ำเจอความชื้น จึงทำให้ทุกท่านมั่นใจทั้งคุณสมบัติการปกป้องอาคารและความสวยงามไปพร้อมกัน
.
อ้างอิง
https://qz.com/97093/new-profession-of-extreme-weather-architect/
https://www.houzz.com.au/magazine/building-for-extreme-weather-the-pressure-on-our-architecture-stsetivw-vs~155654253
https://www.swedishwood.com/publications/wood-magazine/2020-3/hotel-in-local-wood-that-can-survive-extreme-weather/
https://www.carbonbrief.org/explainer-what-climate-models-tell-us-about-future-rainfall/?fbclid=IwAR3emU321_KDId7B0RylDIIJNnHGEuL5IRMeGFJyCcG5Hr92CefB6ZAWMCc
https://www.businessinsider.com/buildings-that-survive-hurricanes-floods-architecture-2018-4
.
ขอบคุณรูปภาพจาก
https://www.designboom.com/architecture/unemori-architects-flood-proof-house-stilts-takaoka-japan-07-28-2021/
https://edition.cnn.com/style/article/australia-bushfire-architecture/index.html
https://www.businessinsider.com/buildings-that-survive-hurricanes-floods-architecture-2018-4
.
หากท่านใดสนใจผลิตภัณฑ์ของทางเรา สามารถติดต่อสอบถามได้ทางเพจเราได้เลยครับ สามารถติดต่อ-สอบถามได้ที่
Inbox : http://m.me/kenzaiceramics
Line : https://lin.ee/8OWMij2
Tel : 02 692 5080-90
#เคนไซตัวจริงเรื่องกระเบื้องภายนอก
#เคนไซผู้ผลิตกระเบื้องภายนอกรายแรกในไทย