ใครที่ติดตามชื่นชอบหรืออยู่ในวงการสถาปัตยกรรม อาจจะคุ้นกับบรรดาบ้านเก่าสวย ๆ ที่ถูกเปลี่ยนเป็นโรงแรม หรือ ร้านอาหาร หรืออาคารราชการเก่าแก่หน้าตาฝรั่งจ๋าถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ อย่างมิวเซียมสยาม หรือการปรับโกดังเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กลายเป็นร้านคาเฟ่ชื่อดัง
.
Adaptive reuse คือชื่อวิธีการนี้ที่ถูกนิยาม เป็นการนำอาคารในอดีตมาใช้งานอีกครั้ง อาจมีการปรับการใช้งานใหม่ให้ตอบรับกับยุคปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งสถาปนิกบางคนจะเรียกว่า เป็นการชุบชีวิตอาคารเก่า ซึ่งส่วนตัวผมชื่นชอบแนวคิดนี้มาก ซึ่งมันดีอย่างไร ไปรับชมกันครับ
.
breathe new life ต่อลมหายใจอาคารในอดีต
.
ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด จะอยู่ย่านเมืองเก่าในเชียงใหม่ อยู่ทันสมัยท่ามกลางอาคารสูงในทองหล่อในกรุงเทพ ทุกที่ในประเทศไทย ล้วนมีอาคารเก่าที่ไม่ถูกใช้งานซ่อนอยู่ อาคารเหล่านี้อาจเคยเฟื่องฟูในอดีต มีคนใช้งานมากมาย แต่ปัจจุบันถูกทิ้งร้างไป
.
อาคารเก่าเหล่านี้ หลายหลังยังดูสวยงาม มีเสน่ห์ เพียงแต่ฟังก์ชั่นมันไม่ตอบโจทย์แล้ว รอวันที่โดนทุบ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน และการรีโนเวทอาคารเก่า จึงเป็นวิธีที่สำคัญที่ช่วยเก็บรักษาอาคารเหล่านี้ ต่อลมหายใจให้มันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
.
ตัวอย่างที่คนไทยรู้จักกันดี ก็คืออาคารมิวเซียมสยาม ที่ตั้งอยู่ถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร ซึ่งเดิมเป็นอาคารสไตล์ตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 6 และถูกใช้เป็นอาคารกระทรวงพาณิชย์ ต่อมาเมื่อกระทรวงได้ย้ายไปที่นนทบุรี ก็ทำให้อาคารเก่าที่สวยงามไม่ได้ถูกใช้งานต่อ
.
จนสิบกว่าปีก่อนก็ได้มีการปรับปรุงใหม่ไม่ให้อาคารถูกทิ้งร้างไปอย่างเปล่าประโยชน์ และปรับเปลี่ยนการใช้งานให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ ต่อลมหายใจอาคารกระทรวงเดิมที่ยังงดงามให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวสำคัญของกรุงเทพมาจนปัจจุบัน
.
- ประโยชน์สารพัดอย่างจากการใช้งานอาคารเก่า
Adaptive reuse มันได้ประโยชน์หลายด้าน อย่างเช่นด้านสิ่งแวดล้อม เพราะเราไม่จำเป็นต้องทุบของเดิมออก ปรับเปลี่ยนปรับปรุงไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติที่จะถูกนำมาใช้สร้างอาคารใหม่ การวิจัยในออสเตรเลียเคยมีการคำนวณว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมากว่า 40 % เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และการสร้างอาคารใหม่คือต้นเหตุการใช้ทรัพยากรป่าไม้กว่า 20 %
.
ดังนั้นหากเราหันมาใช้อาคารเก่าที่มีอยู่เดิมแทนการสร้างอาคารใหม่ ก็เป็นการช่วยโลกไปในตัว
.
หรืออย่างด้านเศรษฐกิจ ผมเชื่อว่าหลายคนต้องเคยเห็นแน่ ๆ ว่า บรรดาร้านกาแฟ หรือ ร้านอาหารหลายแห่งที่ปรับปรุงจากการนำอาคารเก่ามาใช้ พวกเสน่ห์ของอาคารสไตล์เก่า ๆ เหล่านี้ ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวและลูกค้าจำนวนมากให้มาใช้งาน บรรดาอาคารเก่าร้อยปี หลายที่ ก็ปรับเปลี่ยนจากตลาดมาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ร้านค้ากลายเป็นโรงแรมและร้านกาแฟ ก็ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของชุมชนในย่านนั้น ๆ ได้อย่างดี
.
ตัวอย่างในบ้านใกล้เรือนเคียงของประเทศเราก็อย่างเช่น The Warehouse Hotel ที่ประเทศสิงคโปร์ ที่ปรับเปลี่ยนจากโกดังสามหลังที่ติดกัน ให้กลายเป็นโรงแรมหรูหรา ช่วยสร้างรายได้ให้เจ้าของเพิ่มมากขึ้นจากโกดังอาคารเก่า กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่สวยงามริมน้ำ ดึงดูดคนให้ไปย่านนั้น
.
หรือในไทยที่ใกล้เคียงและกำลังจะเกิดขึ้นก็อย่างเช่น อาคารศุลกสถาน ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใช้เก็บภาษีเรือในสมัยร.5 ปัจจุบันกำลังจะปรับปรุงให้กลายเป็นโรงแรมหรู น่าสนใจว่าตอนเสร็จแล้วจะเป็นอย่างไร
.
- แล้ววัสดุอาคารเก่าดูชำรุดทรุดโทรมทำอย่างไรดี
อาคารเก่าส่วนมากวัสดุเดิมอาจชำรุดทรุดโทรม อาทิ อาคารหลายแห่งปูพื้นด้วยหินธรรมชาติ ซึ่งแน่นอนว่าเวลาผ่านไปหินธรรมชาติอาจเกิดคราบและแตกร้าว หรือกระเบื้องปูผนังเริ่มหลุดออกมาก
.
อีกทั้งการปรับเปลี่ยนอาคารเก่าที่ของเดิมอาจมีคนใช้งานไม่มาก กลายเป็นอาคารพาณิชยกรรมหรืออาคารสาธารณะที่รองรับน้ำหนักและคนใช้งานจำนวนมาก ควรหาวัสดุใหม่ที่มีความแข็งแรงเผื่อรองรับการใช้งานใหม่ที่จะเกิดขึ้น
.
หากไม่ได้เป็นโบราณสถานหรืออาคารขึ้นทะเบียนมรดกต่างๆ อันต้องเก็บรักษาวัสดุของเดิมไว้
อาคารเก่า ๆ นอกจากเรื่องของการเก็บรูปแบบความดั้งเดิมแล้ว เรายังสามารถซ่อมปรับปรุงปรับเปลี่ยนวัสดุบางอย่างที่อาจชำรุดทรุดโทรม แต่งเติมให้อาคารกลับมาสวยงามดังเดิม หรือสามารถใช้งานได้ดีมากขึ้นได้อีกด้วย
.
- ปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เติมแต่งอาคารเดิมให้สวยงามมากขึ้นด้วย KENZAI
การเลือกเปลี่ยนมาใช้วัสดุทดแทนที่เป็นวัสดุใหม่ด้วย กระเบื้องลายหิน อาทิ กระเบื้อง Granito Tile ของทาง KENZAI ในการปูพื้นโดยรอบภายนอกและภายในอาคาร
.
ด้วยกระเบื้องของทาง KENZAI มีการออกแบบมาอย่างดี ให้สีสันและผิวสัมผัสดูคล้ายหินธรรมชาติ แต่มาพร้อมข้อดีของกระเบื้องที่มีความแข็งแรงทนทาน รับน้ำหนักรองรับการใช้งานของผู้คนจำนวนมาก ๆ ได้ และมีผิวหน้าแข็งแกร่งป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี
.
และสไตล์ของกระเบื้อง Granito Tile ก็เข้ากับอาคารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะบ้านไทยยุคเก่า อาคารตะวันตก หรือ อาคารคอนกรีตโมเดิร์นยุคต้น ๆ ก็สามารถปูกระเบื้องรุ่นนี้ และยังดูเข้ากันได้อย่างลงตัว
.
และกระเบื้องของเคนไซ ยังผลิตมาด้วยคุณภาพมาตรฐานสากล สามารถทนสารเคมีในครัวเรือนได้สบาย ทนต่อสภาพอากาศของไทย มีอายุการใช้งานยาวนาน อยู่อาศัยไปได้อีกหลายปี
หากท่านใดสนใจกระเบื้อง รุ่น Granito Tile ของทาง KENZAI ติดต่อสอบถามทางเพจของเราได้เลยครับ
.
อ้างอิง
Royal Australian Institute of Architects & Australia. Department of the Environment and Heritage
(2004). Adaptive Reuse: Preserving Our Past, Building Our Future. Department of the Environment
and Heritage.
.
หากท่านใดสนใจกระเบื้อง จาก Kenzai สามารถติดต่อ-สอบถามได้ที่
Inbox : http://m.me/kenzaiceramics
Line : https://lin.ee/8OWMij2
Tel : 02 692 5080-90
#เคนไซตัวจริงเรื่องกระเบื้องภายนอก
#เคนไซผู้ผลิตกระเบื้องภายนอกรายแรกในไทย