เราอาจกล่าวว่าหินและสถาปัตยกรรมเกี่ยวพันกันมาเนิ่นนาน มนุษย์เราเห็นคุณค่าอันมากมายของก้อนหินที่แข็งแกร่งและยังมีคุณสมบัติที่ดี สามารถเป็นได้ทั้งโครงสร้างรับน้ำหนักและเป็นผนังอาคารที่ทนทาน
หินเป็นวัสดุสำคัญที่ถูกนำมาใช้กับอาคารที่สำคัญ เช่น ทางฝั่งเอเชียเองก็มีการใช้หินในการก่อสร้างศาสนสถานสำคัญ อาทิ ปราสาทหินในอินเดียหรือนครวัดในกัมพูชา ที่เป็นหินทั้งหลัง เป็นต้น
เมื่อโรมันพัฒนาคอนกรีตขึ้นมาได้สำเร็จ จึงนำคอนกรีตมาช่วยก่อสร้างง่ายขึ้นแล้ว เช่น โดมของวิหารเพนธีออน แต่อย่างไรก็ดีผู้คนสมัยนั้นยังคงชอบหิน จะด้วยความคุ้นชินในผิวสัมผัสหรือรสนิยมที่ชอบความงามในหินก็ดี ชาวโรมันจึงตัดหินเป็นแผ่นบางนำมาติดเป็นผิวของอาคารคอนกรีต เช่น ที่พบในโคลอสเซียม
การประดับผิว Stone Cladding มาพัฒนาอย่างมากจากตึก Empire State Building ที่เป็นผิว Stone Cladding ในตึกที่สูงมากๆ เพราะตึกนี้ได้แยกโครงสร้างอาคารกับส่วนที่ติดตั้งแผ่นหินทรายจากกัน โดยมีโครงสร้างเหล็กที่ใช้ในการรับน้ำหนักอาคารชุดหนึ่ง และจะมีโครงเหล็กไว้ติดตั้งแผ่นหินทรายเป็นผิวเปลือกนอกอาคารอีกทีในแต่ละชั้น ปัจจุบันหากใครทำงานด้านรับเหมาอินทีเรีย อาจไม่แปลกใจเพราะทำกันปกติในการเอาแผ่นหินไปติดตั้งผนัง ให้โครงเหล็กแล้วแขวนแผ่นหินประดับเอา แต่เมื่อช่วงปี 1930 จัดว่าเป็นเรื่องที่ทันสมัยและสร้างความตกตะลึงสุดๆ
อย่างไรก็ดีวัสดุหินเหล่านี้มาจากธรรมชาติทำให้การควบคุมรูปแบบผิว และสีวัสดุให้สม่ำเสมอกันไม่ค่อยได้ หินบางชนิดก็เกิดคราบสกปรก เกิดตะไคร่ ราดำขึ้นได้ง่าย ในเรื่องน้ำหนักมันก็ยังมีน้ำหนักพอประมาณอยู่ดี และมีความหนาอย่างน้อยก็ราว 2.5 ซม. – 3 ซม. และต้องใช้น้ำยาเคลือบเพื่อปกป้องผิวหินให้สวยงาม ให้ผิวหน้าคงทนไม่ซีดลง
แต่ก็มีหลายคนที่ชอบ Stone Cladding และก็อยากได้สีที่สม่ำเสมอควบคุมได้หรือเลือกสีได้ตามต้องการ และมีผิวสัมผัสสามมิติที่ยังคงคล้ายหิน รวมถึงไม่ต้องการให้ผิวอาคารของตนต้องพอกหนาขึ้นมามาก หรือมีน้ำหนักมากอย่างหินจริง เพราะเป็นเพียงการประดับผิว
.
จนได้มีการพัฒนามาอีกขั้นในปัจจุบันคือกระเบื้องหินเทียม ที่นำเซรามิกมาขึ้นรูป กลายเป็นกระเบื้องลายหินที่สวยงาม เบาลงกว่าหินจริง ใช้งานได้ง่าย มีขนาดที่เหมาะสม และมีสีสันให้เลือกมากกว่าหินธรรมชาติ
ตัวอย่างเช่น กระเบื้อง Rocky ของ Kenzai ที่ผู้ผลิตได้พัฒนากระเบื้องลายหินรุ่นนี้ขึ้นมา ให้ท่านเจ้าของบ้านเจ้าของอาคารได้ใช้ Stone Cladding แบบที่เป็นผิวเหมือนหินภูเขา เมื่อนำไปตกแต่งในอาคารหรือบางส่วนของบ้านจะช่วยสร้างความเป็นธรรมชาติ และเพิ่มความงามโดดเด่นเอกลักษณ์ให้อาคารได้มากขึ้น เช่น ปิดผิวอาคารภายนอก นำมาตกแต่งกำแพงบ้าน และปิดประดับตกแต่งสวน เป็นต้น
ด้วยความหนาเพียง 14 – 18 มิลลิเมตร เมื่อนำไปประดับผิวตึก หรือ ผิวเสาอาคาร ของท่านก็ไม่ทำให้ดูใหญ่หนาเทอะทะ อาคารยังคงรูปร่างสวยดังเดิม พร้อมเกิดผิวสัมผัสอย่างหินขึ้น สร้างเสน่ห์ที่น่าประทับใจแก่ผู้ใช้งานอาคาร และ กระเบื้อง Rocky ของ Kenzai ยังมีการติดตั้งที่ง่ายไม่จำเป็นต้องใช้ช่างเฉพาะทาง มีสีสันให้เลือกหลากหลายโทน เช่น โทนสีขาว โทนสีฟ้าหรือสีแดง หรือหากต้องการสีแบบเอิร์ธโทนธรรมชาติ ก็มี เรียกว่ามีสีสันมากกว่าหินธรรมชาติและสีเท่ากันสม่ำเสมอ
ตัวกระเบื้องนี้ทำมาจากเซรามิกทำให้ทำความสะอาดได้ง่ายกว่าหินธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องทาน้ำยาเคลือบอีกครั้งที่ผิวหน้าอย่างหินจริง เรียกว่าลดขั้นตอนลงได้ในการติดตั้ง
หากท่านใดสนใจวัสดุจำพวกหิน ที่มีเสน่ห์มาอย่างยาวนาน แต่ก็ไม่ชอบหินธรรมชาติที่มีปัญหาบางอย่าง และอยากได้ความสะดวก ความสม่ำเสมอ มีสีสันให้เลือก และการทำความสะอาดง่าย ตัว Rocky ของ Kenzai ก็น่าจะสามารถตอบโจทย์ท่านได้
ลูกค้าสามารถดูรายละเอียดกระเบื้องรุ่น Rocky ได้ที่