สำหรับท่านใดที่เป็นสายศิลปะและงานออกแบบต่างๆ ไม่ควรพลาดงานอีเว้นต์ระดับโลก อย่างงาน Venice Biennale ซึ่งเป็นงานจัดแสดงศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดทุก 2 ปี ตั้งแต่ปี 1895 และครั้งนี้งานครั้งที่ 59 ก็ได้ถูกจัดขึ้น หลังจากถูกเลื่อนมาจากปีที่แล้วด้วยโรคโควิด และความน่าสนใจของงานครั้งนี้ก็การเป็นพื้นที่แสดงออกของศิลปิน non-male-identifying artists เป็นหลัก อย่างที่แทบจะไม่เคยมีมาก่อนในงานแสดงศิลปะระดับโลกอย่าง Venice Biennale
———————————————————————————
- หญิงชาวอิตาลีคนแรกที่ได้เป็น Curator
Cecilia Alemani เป็น Curator หรือภัณฑารักษ์ผู้จัดงานในครั้งนี้ เธอเป็นศิลปินหญิงชาวอิตาลีคนแรก ที่ได้ตำแหน่งนี้เป็นครั้งแรกของอิตาลีแม้จะเป็นงานที่จัดในเวนิสมาเป็นร้อยปีแล้วก็ตาม เพราะปกติแล้วตำแหน่ง Curator หรือภัณฑารักษ์ผู้จัดงาน มักจะเป็นผู้ชาย รวมถึงศิลปินที่จัดงานหรือได้แสดงงานศิลปะในพิพิธภัณฑ์ ว่ากันว่า 80 – 90 % จะเป็นงานของศิลปินผู้ชาย (และส่วนมากก็เป็นคนขาวทั้งหมด)
ยกตัวอย่างในงานศิลปะกว่า 260,000 ชิ้นในพิพิธภัณฑ์ในอเมริกา มีเพียง 29,000 ชิ้นที่เป็นงานจากศิลปินหญิง จนกลายเป็นภาพจำของวงการศิลปะและ ideal ว่าเป็นวงการของผู้ชาย
———————————————————————————
- a Majority-Female Venice Biennale
ในปี 2022 นี้ ในศิลปินที่มาแสดงงาน 213 คน จาก 58 ประเทศทั่วโลก มีเพียง 21 คนเท่านั้นที่ระบุว่าเป็นศิลปินเพศชาย ส่วนศิลปินที่เหลือเรียกว่าครั้งนี้ 90% เป็นศิลปินเพศหญิงและศิลปินที่ไม่ระบุเพศ อาจเรียกว่าเป็นการปฏิวัติการจัดแสดง Venice Biennale เลยก็เป็นได้ ลบล้างภาพจำของงานนี้ ที่เป็นดินแดนของ male-identifying artists
.
ซึ่งหากดูในอดีตอย่างเช่นงาน Venice Biennale ปี 1995 ศิลปิน 90% ที่มาจัดแสดงงานเป็นเพศชาย แม้ว่าในงานยุคต่อมาจะมีศิลปินเพศหญิงหรือไม่ระบุเพศมากขึ้น เช่นในงานปี 2011 เป็นต้น แต่ก็ไม่เคยมีอัตราส่วนจำนวนมากขนาดนี้อย่างปี 2022 (ไม่นับงาน ที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปินหญิงล้วน)
———————————————————————————
- ท้าทายแนวคิดชายเป็นใหญ่
ซึ่งคุณ Cecilia Alemani เธอต้องการจะท้าทายแนวคิดที่ผู้ชายเป็นศูนย์กลางวงการอย่าง
“universal ideal of the white, male ‘Man of Reason’ as fixed center of the universe and measure of all things.” หรือแนวคิดที่บอกว่าผู้ชายเป็นศูนย์กลางจักรวาลและเป็นมาตราฐานของทุกสิ่ง
.
ดังนั้นตั้งแต่ ชื่อแนวคิดหลักของงานครั้งนี้คือ “The Milk of Dreams” ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับหนังสือของศิลปินหญิงอย่าง Leonora Carrington ที่เป็นหนังสือแรงบันดาลใจให้นักคิดนักเขียนเฟมินิสต์ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้หญิงหลายคน
.
ซึ่งธีมของงานจะเน้นเรื่องการตั้งคำถามถึงการเปลี่ยนแปลง ซึ่งตีความได้ตั้งแต่ของผู้คน การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ แนวคิดของมนุษยขาติที่มีผู้ชายเป็นศูนย์กลาง การเชื่อมโยงระหว่างคนกับเทคโนโลยี และคนกับโลก
.
คุณ Cecilia Alemani ตั้งใจจะให้เวทีงานศิลปะในครั้งนี้เปิดทางให้กับวงการศิลปินหญิงที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงเท่าที่ควร มานับร้อยๆปี เป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญและเปิดโอกาสให้ศิลปินหญิงหลายคนได้มีโอกาสแสดงผลงานในเวทีระดับโลกเป็นครั้งแรก ซึ่งงานนี้จะขึ้นระหว่าง 23 เมษายน – 27 พฤศจิกายน 2022 ที่อิตาลี
.
ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าแนวคิดการจัดงานปีนี้เป็นที่น่าสนใจอย่างมาก ซึ่งโลกปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ และคราวนี้ก็น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวงการศิลปะและงานออกแบบในโลกก็ว่าได้
———————————————————————————
อ้างอิง
Ref: https://ocula.com/magazine/art-news/venice-biennale-2022s-international-exhibition/
https://www.artnews.com/art-news/news/venice-biennale-2022-women-artists-maura-reilly-1234618777/
https://www.nytimes.com/2020/01/10/arts/design/venice-biennale-cecilia-alemani.html
https://www.theguardian.com/news/datablog/2019/may/21/museum-art-collections-study-very-male-very-white
.
หากท่านใดสนใจกระเบื้อง จาก Kenzai สามารถติดต่อ-สอบถามได้ที่
Inbox : http://m.me/kenzaiceramics
Line : https://lin.ee/8OWMij2
Tel : 02 692 5080-90
#เคนไซตัวจริงเรื่องกระเบื้องภายนอก
#เคนไซผู้ผลิตกระเบื้องภายนอกรายแรกในไทย