Architect Talk

ลดจังหวะให้ช้าลง กับ Slow Architecture

ในโลกที่ทุกอย่างเร่งรีบแข่งกับเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเ […]

ในโลกที่ทุกอย่างเร่งรีบแข่งกับเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ยิ่งเร็วยิ่งดี จึงเกิดแนวคิด Slow movement ขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Slow Food, Slow travel, Slow life และ Slow Architecture เพื่อบอกกล่าวกับผู้คนทั้งหลายว่า เรามาคิดให้ชีวิตช้าลงกันซักนิดได้ไหม

.

“Slow movement ไม่ใช่ Snail movement” 

ผมก็ต้องอธิบายก่อนว่าแนวคิดนี้ ไม่ใช่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างช้าลงแบบเป็นหอยทาก แต่หมายถึงการใช้ชีวิต และทำทุกสิ่งด้วยจังหวะและความที่เหมาะสม ไม่ใช่เร่งด่วนจนเกินไป จนอาจละเลยบางอย่างไป 

.

แนวคิดเรื่อง Slow เริ่มจาก Slow food ในปี 1989 โดย Carlo Petrini นักเคลื่อนไหวชาวอิตาลี ที่ออกมาเรียกร้องให้ผู้คนหันมาทานอาหารแบบดั้งเดิม ที่มีกระบวนการทำอาหารแบบปรุงในครัวหรือตามร้านอาหารท้องถิ่น ไม่ใช่เน้นความเร่งรีบ จนมองหาแต่อาหารแบบสำเร็จรูป หรือ บรรดาฟาสฟู้ด 

———————————————

  • สถาปัตยกรรมแบบ Slow ?

และแนวคิด Slow ก็มาอยู่ในงานสถาปัตยกรรมด้วยเช่นกัน ผมว่าหลายคน ซึ่ง Slow Architecture ไม่ได้หมายถึงการสร้างอาคารแบบช้าๆไม่เสร็จซักที ให้ดอกเบี้ยและค่าแรงงานกัดกินกระเป๋าตังค์เจ้าของอาคารเล่น แต่หมายถึงก่อนที่เราจะสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใดๆก็ตาม เราควรเข้าใจแบบลึกซึ้ง Deep กับบริบทสภาพแวดล้อมของอาคารนั้นๆ อย่างถ่องแท้ 

———————————————

  • Crazy environments กับการออกแบบเน้นสไตล์

“สถาปัตยกรรมยุคสามสิบสี่สิบปีมานี้ แข่งกันทำแต่ฟอร์มอาคาร และสร้างสไตล์เต็มไปหมด จนทำให้ทั้งเมืองเป็นสภาพ Crazy environments” คุณ Robles จาก Studio Points ซึ่งเป็นบริษัทสถาปนิกในโคโลราโด้ ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ 

.

ชวนนึกถึงอาคารในเมืองใหญ่ที่ออกแบบเน้นรูปทรง เน้นสไตล์ เน้นออกแบบให้โด่งดังเป็นกระแส เร่งรีบออกแบบตามเทรนที่อาจไม่เข้ากับบริบทสภาพแวดล้อมประเทศ ชวนนึกถึงอาคารในเมืองใหญ่ที่ออกแบบเน้นรูปทรง เน้นสไตล์ เน้นออกแบบให้โด่งดังเป็นกระแส เร่งรีบออกแบบตามเทรนที่อาจไม่เข้ากับบริบทสภาพแวดล้อมประเทศ จนทำให้อาคารมีความหลากหลายแต่กลับใช้งานไม่เหมาะกับบ้านเรา

.

หลายคนคงอาจเคยเห็นบ้านหรือร้านค้า อาคาร ที่ไม่เข้ากับบ้านเรา การเน้นฟอร์มอาคารตามเทรนตามกระแสโลก อาคารสวยงามแต่เวลาฝนสาดก็เปียกปอนเข้ามาถึงภายในอาคาร หรือแดดมาก็ร้อนทั้งหลัง รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้งานวัสดุ แบบฉาบฉวย นี่อาจเน้นความติดตั้งรวดเร็ว แต่ทว่ามีระยะการใช้งานที่สั้นไป ทำให้ต้องเปลี่ยนวัสดุใหม่บ่อยๆ
———————————————

  • Slow with environments and contexts

แนวคิดโดยคร่าวของ Slow architecture คือ การออกแบบเหมาะสมกับบริบทโดยรอบ ใช้วัสดุที่เข้ากับสภาพแวดล้อม ตอบโจทย์ความยั่งยืน ราคาสมเหตุสมผล และ ก็ไม่ได้ทิ้งเรื่องการออกแบบสวยงามแต่อย่างใด 

.

อาคารแนวนี้ ผมยกตัวอย่างเช่น บรรดาบ้านในแถบนอร์เวย์ อาทิ บ้านของศาตราจารย์ Arne Næss แห่งมหาวิทยาลัยออสโล และงานของสตูดิโอ TYIN tegnestue ที่เป็นอาคารขนาดไม่ใหญ่ เข้ากับสภาพแวดล้อมหนาวเย็นของนอร์เวย์ ใช้วัสดุธรรมชาติท้องถิ่น กลมกลืนกับธรรมชาติ

.

ซึ่งสถาปนิกทีม TYIN ก็เคยมาออกแบบบ้านพักผู้อพยพชาวกระเหรี่ยงในประเทศไทย โดยใช้วัสดุไม้ไผ่ท้องถิ่นของไทยเป็นวัสดุหลัก ออกแบบเข้ากับอากาศในไทย ขณะเดียวกันก็มีหน้าตาโดดเด่นสวยงามที่สามารถสร้างได้โดยช่างชาวบ้าน

.

หรืออาคาร Therme Vals ซึ่งเป็นสปาในสวิตเซอร์แลนด์ ออกแบบโดยสถาปนิกรางวัลระดับโลกอย่าง Peter Zumthor โครงการนี้ออกแบบภายในสปาด้วยหินธรรมชาติ และตัวอาคารครึ่งหนึ่งฝังในภูเขา สร้างสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนสภาพแวดล้อม ดูธรรมชาติ ให้ผู้มาใช้ได้ผ่อนคลายอย่างแท้จริง 

———————————————

  • Slow and Harmony  

ซึ่งหากเราดูกันดีๆ งานแนว Slow Architecture จะเป็นงานที่เน้นความกลมกลืน ความถ่อมตัว ซึ่งพบได้ทั้งงานของทางสแกนดิเนเวีย และ งานในประเทศญี่ปุ่น
.

แก่นเหล่านี้อันที่จริงเรายังพบได้จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่ออกแบบเข้ากับสภาพแวดล้อมพื้นที่นั้นๆ สมเหตุสมผล เน้นความยั่งยืน มันเป็นสิ่งที่หลายคนก็ลืมกันไปแล้ว ว่าสมัยก่อนเราอยู่อาคารแล้วสบาย ตอบโจทย์การใช้สอย แต่ทำไมอาคารยุคใหม่ๆที่เทคโนโลยีดีขึ้น มันอยู่แล้วดันวุ่นวายกว่าเดิมใช้งานยากกว่าเดิม แก่นเหล่านี้อันที่จริงเรายังพบได้จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่ออกแบบเข้ากับสภาพแวดล้อมพื้นที่นั้นๆ สมเหตุสมผล เน้นความยั่งยืน มันเป็นสิ่งที่หลายคนก็ลืมกันไปแล้ว ว่าสมัยก่อนเราอยู่อาคารแล้วสบาย ตอบโจทย์การใช้สอย แต่ทำไมอาคารยุคใหม่ๆที่เทคโนโลยีดีขึ้น มันอยู่แล้วดันวุ่นวายกว่าเดิมใช้งานยากกว่าเดิม อาทิ อาคารกล่องคอนกรีต ที่เวลาใช้งานจริง ต้องคอยระวังฝนสาดอาคาร หรือ เจอปัญหาภายในอาคารร้อนมาก เป็นต้น
.

เราควรหันมาคุยกันว่าทิศทางของงานออกแบบอาคารออกแบบ Fast ตามเทรน ตามกระแส หรือ มาทำอาคารแนวคิด Slow จับจังหวะให้ช้าลงแล้วคิดมากขึ้นกัน Slow Architecture

———————————————

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก https://www.dwell.com/article/slow-architecture-1c82a421 เขียนโดยคุณ Alpine Modern

ขอขอบคุณรูปภาพเพิ่มเติมจาก
Example of slow architecture in Norway, Photo by Åke E:son Lindman
Therme Vals, Designed by architect Peter Zumthor
Naust Paa Aure by TYIN tegnestue
Soe Ker Tie Houses in Thailand, Photo by Pasi Aalto, Tyin Tegnestue
.
หากท่านใดสนใจกระเบื้อง จาก Kenzai สามารถติดต่อ-สอบถามได้ที่

Inbox : http://m.me/kenzaiceramics

Line : https://lin.ee/8OWMij2

Tel : 02 692 5080-90
.

#เคนไซตัวจริงเรื่องกระเบื้องภายนอก

#เคนไซผู้ผลิตกระเบื้องภายนอกรายแรกในไทย

#นึกถึงกระเบื้องภายนอกนึกถึงเคนไซ

#Kenzaiceramics #Floortile #Walltile

Related Posts

Your cart

No products in the cart.