▪️ Stand-alone แห่งความทรงจำ
ข่าวที่น่าเสียดายที่สุดเรื่องหนึ่งในวงการสถาปัตยกรรมที่ผ่านมาคือ การทุบโรงภาพยนตร์สกาล่า ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์แบบ Stand-alone หรือเป็นโรงภาพยนตร์ที่ตั้งแบบเดี่ยว ๆ ในยุคนี้เราอาจคุ้นกับโรงภาพยนตร์ที่ตั้งในห้างสรรพสินค้า แต่ยุคหนึ่งของประเทศเรานั้นเคยมีโรงภาพยนตร์แบบ Stand-alone เป็นจำนวนมาก และแต่ละที่ก็มีการออกแบบให้มีเอกลักษณ์สวยงาม และที่ ๆได้รับการยอมรับว่าสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของไทยคือ โรงภาพยนตร์สกาลาแห่งสยามแสควร์
.
โรงภาพยนตร์สกาลา เป็นหนึ่งในโรงภาพยนตร์ในเครือของ เอเพ็กซ์ ซึ่งประกอบด้วย โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย, สยาม, ลิโด้, และสกาลา ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ในความทรงจำอันสำคัญของบรรดาเด็กวัยรุ่นในกรุงเทพ หนึ่งในสถานที่ที่สวยงามและโดดเด่นมาก เห็นจะไม่พ้นโรงภาพยนตร์สกาลาแห่งนี้
.
ด้วยหน้าตาเป็นเอกลักษณ์ โถงบันไดสวยงามด้วยไฟแชนเดอเลีย คนรุ่นผู้ใหญ่อาจจำได้จากการฉายภาพยนตร์ชื่อดังในอดีต อย่างคุณลุงผู้เขียนก็เคยมาดูภาพยนตร์เรื่องแรกที่โรงแห่งนี้ในสมัยแกเป็นวัยรุ่น ส่วนวัยรุ่นยุคหลังๆ อาจจำโรงภาพยนตร์สกาลาจากป็อปคัลเจอร์ต่างๆ รวมถึงการเป็นฉากในภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง รักแห่งสยาม ส่วนเด็กรุ่นใหม่อาจจดจำได้ฐานะสถานที่จัดมีตติ้งของศิลปินยุคนี้
————————————————-
▪️ สถาปัตยกรรมสุดล้ำ
โรงภาพยนตร์สกาลา ออกแบบโดย พันเอกจิระ ศิลป์กนก ผู้ออกแบบอาคารโมเดิร์นรุ่นแรกๆของไทย ในช่วง 2500 – 2515 อาทิ โรงแรมอินทรา หรือ ตึกสันติไมตรี เป็นต้น และหนึ่งในผลงานอันโดดเด่นก็คือ โรงภาพยนตร์สกาลาแห่งนี้
.
พันเอกจิระ เป็นคนออกแบบงานโมเดิร์นและใช้โครงสร้างคอนกรีตที่น่าสนใจและล้ำมากในยุคนั้น คือ การใช้ฝ้าเพดานโค้งที่หล่อเป็นชิ้นเดียวกันกับส่วนเสาอาคาร แสดงถึงเทคโนโลยีการก่อสร้าง และฝีมือของช่างยุคก่อนที่ทำไม้แบบได้สุดยอดมาก จนสามารถรังสรรค์งานโครงสร้างที่สวยงามระดับนี้ได้ และยังประดับตกแต่งด้วยสไตล์แบบ Art Deco หรือก็คือการใช้องค์ประกอบแบบเรขาคณิต ซึ่งนิยมมากในยุคหนึ่งของอเมริกา
.
ตัวโค้งรูปพัดสร้างบรรยากาศที่ดูโอ่อ่าสวยงามมาก และยังประดับด้วยดาวเพดาน ที่ชวนนึกถึงดาวเพดานในงานไทย ผู้เขียนเองก็เคยมีโอกาสไปที่บริษัทของพันเอกจิระอยู่ครั้งหนึ่ง และเคยเห็นงานแบบเขียนมือของคุณจิระ งานของคุณจิระเป็นงานเขียนแบบที่สวยงามและเนี๊ยบมาก และคุณจิระเป็นคนที่สนใจงานไทย ศึกษางานไทยและเขียนลายไทยได้สวยงามมาก
.
โรงภาพยนตร์สกาลาจึงเป็นงานศิลป์ขนาดใหญ่สวยงาม ผสมผสานตะวันออกและตะวันตกได้อย่างลงตัว การตกแต่งยังมีทั้งไม้แกะสลักเป็นรูปพิณฝรั่ง และภาพสำริดนูนต่ำ โถงบันไดขนาดใหญ่อันเป็นที่มาของชื่อ สกาลา ซึ่งแปลว่าบันไดในภาษาอิตาลี และโคมไฟแชนเดอเลียที่โดดเด่นเป็นสง่าก็สั่งพิเศษมาจากอิตาลีเช่นกัน ตัวบันไดเป็นทางขึ้นสองทางเรียก Double staircase ทำจากคอนกรีต ปิดผิวขั้นบันไดด้วยหินอ่อน ตกแต่งราวจับด้วยอลูมิเนียมและไม้
.
ภาพนูนต่ำที่ประดับอยู่โถงพักคอยก่อนเข้าโรงหนัง เป็นฝีมือของ Fed R Tagala และออกแบบโดยสถาปนิกภายในที่ออกแบบให้โรงแรมอินทรา เป็นภาพชื่อ Asia Holiday แสดงถึงสถานที่สำคัญต่างๆของเอเชีย
————————————————-
▪️ คุณค่าของสกาลา
จากวิทยานิพนธ์ของสิริดา มธุรสสุคนธ์ (2560) จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคุณค่าของอาคารแห่งนี้ว่า
.
– ให้คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ และเป็นอารมณ์ร่วมของผู้คน เพราะสถานที่แห่งนี้ถูกสร้างมาในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการก่อสร้างสยามสแควร์ จึงเป็นส่วนสำคัญด้านประวัติศาสตร์ของพื้นที่ และเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำผู้คน ที่ผ่านมาหลายเจนเนอเรชั่น
.
– คุณค่าด้านวัฒนธรรม เป็นตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่สวยงามมากของไทย แสดงถึงเทคโนโลยีการก่อสร้างที่โดดเด่นในยุคนั้น ตัวโถงยังได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม
.
50 ปีที่แล้ว สยามยังไม่ใช่ศูนย์กลางของเมืองอย่างปัจจุบัน ถ้าเทียบกับสภาพปัจจุบันหลายคนอาจไม่ค่อยเชื่อ ในสมัยก่อนนั้น ตอนที่สยามสแควร์เพิ่งเปิดใหม่ๆ ก็ยังไม่ค่อยมีคนมากันเท่าไร ยังเป็นพื้นที่รกร้างและชุมชนแออัดอยู่ แต่หลังจากการก่อสร้างโรงภาพยนตร์ 3 แห่งในพื้นที่ ทั้ง สยาม ลิโด้ และ สกาลา ก็ทำให้พื้นที่แถบนี้กลายเป็นพื้นที่คึกคัก เป็นย่านสำคัญอีกแห่งของกรุงเทพไปในที่สุด
————————————————-
▪️ การร่วงโรย
แม้ว่าโรงภาพยนตร์สกาล่า จะโดดเด่นทั้งความสวยงาม มีความเป็นมายาวนาน แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าช่วง 2530 เป็นต้นมา ที่เกิดห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ครบวงจร ที่มีโรงภาพยนตร์ มีร้านอาหาร ร้านค้าในตัว เป็นจุดที่ทำให้โรงภาพยนตร์แบบตั้งเดี่ยวๆ ต้องทยอยปิดตัวลงไป ซึ่งโรงสุดท้ายที่เหลืออยู่ของสยามก็คือสกาลา ก็ไม่อาจหนีพ้น
.
คุณค่าด้านเศรษฐกิจของสถานที่แห่งนี้เมื่อเทียบกับโลเคชั่นระดับเกรดเอกลางเมือง และการสร้างรายได้ที่ทำได้ในช่วงหลังที่ผ่านมา ก็ต้องยอมรับว่า ถึงเวลาต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเปลี่ยนธุรกิจหรือรีโนเวทใหม่ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน
.
ซึ่งสิ่งที่ชาวอนุรักษ์อาคาร และผู้คนเสียดาย ก็คือเรื่องของตัวอาคารที่ถูกทุบทำลายไป เป็นการที่ไม่เห็นคุณค่าในเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของอาคารสมัยใหม่ของประเทศเรา ซึ่งอาคารหลังนี้ก็คงไม่ใช่หลังสุดท้ายที่จะถูกทุบไปโดยทุนนิยมแห่งยุคสมัยใหม่ ได้แต่คาดหวังว่าผู้ประกอบการณ์จะเห็นคุณค่าการเก็บรักษาอาคารเอาไว้บ้าง
.
อ้างอิง
https://www.bbc.com/thai/thailand-53275024
https://th.wikipedia.org/…/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B…
.
หากท่านใดสนใจกระเบื้อง จาก Kenzai สามารถติดต่อ-สอบถามได้ที่
Inbox : http://m.me/kenzaiceramics
Line : https://lin.ee/8OWMij2
Tel : 02 692 5080-90
Architect Talk
สกาลา โรงภาพยนตร์ Stand-alone แห่งสุดท้ายในสยาม
▪️ Stand-alone แห่งความทรงจำ ข่าวที่น่าเสียดายที่สุดเรื […]
By editor_admin
ธันวาคม 21, 2021
Related Posts
งดงามอย่างยาวนาน สถาปัตยกรรมวัดและกระเบื้อง มีอะไรมากกว่าที่คิด
วันนี้เคนไซ อยากชวนทุกคนพูดคุยถึงแนวทางการเลือกใช้กระเบ […]
Home renovation : ปรับเพื่อสร้างมิติใหม่ๆ ที่ทำให้บ้านหลังเดิม ไม่เหมือนเดิม ด้วยกระเบื้อง
ปีใหม่ปี 2568 กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วัน ทางเคนไซขอแนะน […]
สถาปัตยกรรมปี 2024 ที่ได้รางวัลจาก Architizer
ในแต่ละปีนักออกแบบและคนที่สนใจด้านสถาปัตยกรรมมักจะนิยมร […]
จุดต่างของเนื้อกระเบื้อง Kenzai ที่สร้างความแตกต่าง แต่ตอบโจทย์ความพอใจของลูกค้า
คิดถึงกระเบื้องก็ต้องกระเบื้องเคนไซ และหลายคนอาจจะสงสัย […]