Architect Talk

International Women’s Day ทำความรู้จักกับภูมิสถาปนิกหญิงไทยที่ได้รางวัลระดับโลก

หนึ่งในวันสำคัญของสากลโลกในเดือนมีนาคมนี้ คือ วันสตรีสา […]

หนึ่งในวันสำคัญของสากลโลกในเดือนมีนาคมนี้ คือ วันสตรีสากล หรือ วันแรงงานสตรีสากล ที่มีการจัดงานขึ้นทุกวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี โดยมีเพื่อเฉลิมฉลองและให้ความสำคัญต่อผู้หญิงทุกคนบนโลกที่มีความสำเร็จทางเศรษฐกิจและสังคม และเนื่องจากเป็นเดือนของสตรี

.

วันนี้เราจะพาทุกท่าน ไปรู้จักกับภูมิสถาปนิกหญิงไทยที่ได้รางวัลโดดเด่น และผลงานของเธอเป็นที่ยอมรับและโด่งดังระดับโลก คุณกชกร วรอาคม แห่งบริษัท Landprocess กันครับ

.

[ภูมิสถาปนิกหญิงไทย ผู้ได้รางวัลระดับโลก และติดอันดับ Time 100 Next]

นักออกแบบหญิงในโลกมีมากมายหลายคน แต่นักออกแบบหญิงของไทยเองก็โดดเด่น      ไม่แพ้ใคร หนึ่งในนักออกแบบในวงการสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดในช่วงเวลาที่ผ่านมาของประเทศเรา ก็คงหนีไม่พ้น คุณกชกร ด้วยรางวัล the 2020 UN Global Climate Action Awards จากทาง UN,

.

คุณกชกรยังได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 100 คนโดดเด่นระดับโลกด้าน innovator ในปี 2019 ของ นิตยสารระดับโลก อย่าง TIME ใน “Time 100 Next 2019” และเป็นหนึ่งใน BBC’s 100 Women ซึ่งเป็นการจัดอันดับของทาง BBC

.

ซึ่งใครหลายคนจะรู้จักเธอจากผลงานการออกแบบ โครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ หรือที่หลายคนจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า สวนจุฬา 100 ปี ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดตัวแนวคิดของคุณกชกรได้อย่างเด่นชัด นอกจากนี้ผลงานของเธอยังมีมากมายทั้ง Siam Green Sky  ที่สยามสแควร์, และสวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต เป็นต้น

.

[การออกแบบเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม]

หนึ่งประโยคที่ทาง The New York Times ได้ใช้นิยามคุณกชกร ก็คือ

“An Architect Who Mixes Water and Nature to Build Resilience” หรือก็คือสถาปนิกผู้ผสมผสานธรรมชาติและน้ำเพื่อสร้างการฟื้นฟูสภาพ (ของเมืองและผู้คน)

.

นอกจากการออกแบบจัดภูมิทัศน์ให้ออกมาสวยงาม งานของคุณกชกร ยังใส่ใจถึงเรื่องสภาพแวดล้อม บริบทของเมืองและผู้คน อย่างผลงานแรกของคุณกชกร Siam Green Sky ก็เป็นการสร้างพื้นที่สีเขียวสาธารณะขนาดใหญ่ให้กับเมือง บนอาคาร Siam Square One

.

และผลงานที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดก็คือ สวนจุฬา 100 ปี ที่มีการพูดถึงเรื่อง Climate change และคำนึงถึงเรื่องน้ำท่วมของกรุงเทพ ซึ่งเป็นปัญหาที่คนในกรุงเทพประสบพบเจอทุกครั้งเมื่อวันที่ฝนตกหนัก สวนนี้มีการออกแบบ เอียงพื้นที่รับน้ำพร้อมออกแบบถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ใต้สวนที่รองรับน้ำได้ถึง 1 ล้านแกลลอน

แน่นอนครับว่าสวนของทางจุฬา ที่คุณกชกรออกแบบ อาจไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมของทั้งเมืองได้ แต่ถือว่าโครงการนี้เป็นก้าวสำคัญของไทย ที่เป็นการออกแบบคำนึงช่วยเหลือปัญหาน้ำท่วมโดยไม่ได้มาจากผู้ว่า หรือ ภาครัฐสั่งการ เรียกว่าให้ทุกคนช่วยกันคำนึงถึงเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมของเมืองและช่วยกันคนละเล็กคนละน้อยในส่วนที่ตัวเองทำได้

[urban farming อันดับหนึ่งของเอเชีย]

อีกโครงการที่น่าสนใจและน่าพูดถึงของคุณกชกร ก็คือ อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นอกจากเป็นสวนพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ และสร้างเพื่อรำลึกครบรอบ 100 ปี ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นอาคารขนาดใหญ่ประกอบไปด้วย co-working space ห้องประชุม ศูนย์อาหาร และ concert hall

จุดที่ควรได้รับการชื่นชม คือ พื้นที่สีเขียวของอุทยาน ที่เป็นสวน urban farming ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และจัดเป็นสวนลอยฟ้าอันดับสองของโลก พืชพรรณบนพื้นที่สีเขียวลอยฟ้านี้ เป็นการปลูกผักออแกนิก พืชสมุนไพร และการปลูกข้าวแบบขั้นบันได โดยพืชผักที่ปลูกบนอาคารนี้เป็นรายได้เสริมของบุคคลากรในมหาวิทยาลัย และถูกนำไปบริโภคในโรงอาหารของมหาวิทยาลัย ช่วยลดต้นทุนของค่าอาหารได้ด้วย

นอกจากการออกแบบสวนของคุณกชกรแล้ว โครงการอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี เป็นโครงการที่มีผู้เกี่ยวข้องและน่ากล่าวถึงชื่นชมอีกหลายท่าน ที่ร่วมกันก่อเกิดและออกแบบโครงการนี้ ทั้งอ.ธีรพล นิยม แห่งสถาบันอาศรมศิลป์ บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ และ ผศ. ปราณิศา บุญค้ำ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

.

จากผลงานทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้น เรียกได้ว่าผลงาน และแนวคิดการออกแบบต่าง ๆ ของ คุณกชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกหญิงของไทยน่าชื่นชมเป็นอย่างมาก เป็นงานที่เป็นมากกว่าภูมิสถาปัตยกรรมธรรมดา แต่มีการคิดและคำนึงถึงผู้คน และสิ่งแวดล้อม อีกด้วยครับ

.

อ้างอิง

https://www.nytimes.com/2022/03/07/world/kotchakorn-voraakhom-architect-climate-change.html

https://urbancreature.co/esg-pathway/

https://readthecloud.co/kotchakorn-voraakhom-landprocess/

https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256302Bestination.aspx

.

นอกจากนี้ทางเพจต้องขอขอบคุณคุณกชกร วรอาคม และขอขอบคุณทั้งเนื้อหาบางส่วน และรูปภาพจากผู้เกี่ยวข้องหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นทาง Urban Creature, The Cloud, New York Times, BOT Magazine ของธนาคารแห่งประเทศไทย และสำหรับโครงการต่าง ๆ ที่ทางเพจนำเสนอ มีผู้เกี่ยวข้องต่างๆ และผู้ออกแบบดังนี้

.

โครงการ Siam Square One

Architectural Design

The Office of Bangkok Architects

Landscape Design

LANDPROCESS Co.,Ltd.

Construction Management

P.PSN Co., Ltd.

Structure Engineering

Post Engineering

M&E Engineering

Plan Engineering

Graphic Design

G49

.

โครงการสวนจุฬา 100 ปี

Landscape Architect

LANDPROCESS Co.,Ltd.

Architectural Design

N7A architects Co,. Ltd.

Structural Engineering

(CASE) Civil And Structural Engineers Co.,Ltd.

MEP Engineering

EEC Engineering Network Co., Ltd. (EEC)

Main Contractor

Syntec Construction PCL.

Construction Manager

CONSULTING & MANAGEMENT 49 Co,. Ltd. (CM49)

Softscape Contractor

CORDIA Co., Ltd.

Graphic Designer

G49 Co.,Ltd.

.

โครงการ อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี

Landscape Architect

LANDPROCESS Co.,Ltd.

Architectural Design

Arsomsilp Institute of the Arts

Interior Design

DIMENSIONAL INTERPRETATION

Structural Engineering

Degree System Co., Ltd

MEP Engineering

TPM Consultants Co.,Ltd

Graphic Designer

Be Our Friend

Construction Management

CM49

Related Posts

Your cart

No products in the cart.